คือดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในดินปริมาณมาก ทำให้พืชขาดน้ำ และเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืช ซึ่งอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ดินมีแหล่งกำเนิดจากแร่หรือหินที่มีเกลืออยู่ ดินแช่น้ำทะเลเป็นระยะเวลานาน หรือการทำนาเกลือ
แนวทางการแก้ไขทำได้โดยปลูกพืชที่สามารถดูดเกลือเข้าไปสะสมได้ดี ปลูกไม้ยืนต้นที่มีรากลึก เพื่อลดความเค็มของดินในที่ลุ่มที่เป็นพื้นที่ให้น้ำ การชะล้างดินเค็มด้วยการขังน้ำจืดไว้หน้าผิวดิน หรืออาจปลูกพืชเศรษฐกิจที่ทนเค็มได้
คือดินที่มีค่า pH มากกว่า 7 มักพบบริเวณพื้นที่แถบภูเขาหินปูน หรือการใส่ปุ๋ยเคมีเป็นเวลานาน แนวทางการแก้ไขคือปรับสภาพดินด้วยการเติมกำมะถันผงลงไป
คือดินที่ขาดธาตุอาหารสำคัญของพืชได้หมด เช่น เมื่อปลูกมันสำปะหลังไปนานๆ ดินบริเวณนั้นก็ปลูกพืชชนิดอื่นไม่ได้อีก แนวทางการแก้ไขปัญหาดินจืดต้องลงทุนมาก และใช้ระยะเวลา ดังนั้นควรรีบแก้ไข นั่นก็คือการปลูกพืชสลับอย่างพืชตระกูลถั่ว หรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพังทลายหรือดินไม่อุดมสมบูรณ์นั้น จะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น เกษตรกรต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาบำรุงดิน แม่น้ำและปากแม่น้ำตื้นเขินเนื่องจากการชะล้างตะกอนดิน เกิดอุทกภัยหรือดินถล่ม ดังนั้นเราจึงควรป้องกันด้วยการอนุรักษ์ดิน
ควรปลูกพืชที่เหมาะสมกับดินควรปรับปรุงและบำรุงดิน เช่น ใส่ปุ๋ยปุ๋ยคอก ปลูกพืชตะกูลถั่ว ใส่ปูนขาวในดินที่เป็นกรด หรือระบายน้ำเข้าที่ดินเค็ม เป็นต้น
ควรป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน ด้วยการปลูกพืชคลุมดิน พืชหมุนเวียน การไถพรวนตามแนวระดับ การทำคันดินเพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน รวมทั้งไม่ตัดไม้ทำลายป่า เผาป่า หรือทำไร่เลื่อนลอย
ควรให้ดินชุ่มชื้นเสมอ เช่น หญ้าหรือฟางคลุมหน้าดิน
ติดต่อสอบถามเรื่อง การสมัครฯ ติดตามเรื่องการจัดส่ง คอมมิชชั่น
> ส่งข้อมูลการสมัคร
> ส่งใบจองสินค้า
> ติดตามเรื่องคิวรถ การจัดส่ง
> สั่งซื้อสื่อ โบรชัวร์ เสื้อ อื่นๆ
วันจันทร์ ถึง วันเสาร์
09-00 ถึง 19.00 น.
ยกเว้นวันอาทิตย์
และวันหยุดนักขัตฤกษ์