คุณสมบัติและ ประโยชน์ของปูนมาร์ล

ประโยชน์ของปูนมาร์ล
องค์ประกอบส่วนใหญ่ เช่น แคลเซี่ยม คาร์บอเนต (CaCo2) และดินเหนียว (Clay) ในอัตราส่วน ในอัตราส่วน 35-65% อัตราส่วน CaCo3 35% ต่อดินเหนียว 65% มีสีขาวขุ่นน้ำตาล เป็นหินปูนที่มีลักษณะเนื้อค่อนข้างร่วน มีค่า CCE91-93%CaCo3 91.09-92.71% CaO 51.04-51.95%, MgCo3 015-0.43% และ MgO 0.04-0.14%

1.ช่วยกระดับ pH ของดินให้สูงขึ้น ลดความเป็นกรดของดิน
2.ช่วยเป็นประโชยน์ของธาตุอาหารหลัก และเสริม ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, แคลเซี่ยม, แมกนีเซี่ยม, ซิลิกา, โมลิบดินั่ม
3.ช่วยเพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ ที่มีประโชยน์ต่อพืช
4.ลดสารพิษอันเกิดจากความเข้มข้นของเหล็ก, อะลูมินั่ม, ตลอดจนสารพิษ ไพไรต์และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ในสารละลายดิน

ปูนมาร์ล : จะเป็นวัสดุปรับปรุงดินที่ให้ทั้งแคลเซียม อีกทั้งยังช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (ค่าPH) ของดินให้สูงขึ้นอย่างช้าๆ และยังเป็นแหล่งแคลเซียมที่มีประโยชน์สำหรับพืช ที่มีราคาถูกกว่าปูนขาวหรือไดโลไมท์อีกด้วย เพราะปูนมาร์ลจะใช้ต้นทุนในการผลิตให้เป็นวัสดุปรับปรุงดินที่ถูกกว่าปูนขาว ดังนั้นจึงเป็นแหล่งแคลเซียมที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเกษตร เช่น การผลิตถั่วลิสงโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่วนใหญ่แล้วจะมีสภาพดินเป็นกรด ซึ่งปูนมาร์ลจะช่วยปรับสภาพดินกรดให้สูงขึ้นอย่างช้าๆและสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้เราจะในในปริมาณที่มากก็ตาม และโอกาสที่จะเป็นอันตรายต่อพืชก็น้อยมาก ซึ่งหากเราใส่ในปริมาณที่มากๆครั้งเดียวและย่อยสลายไปไม่หมด

ปูนมาร์ล” ผลิตโดยการขุดนำเอาดินสีขาวนวลหรือเรียกว่าแคลเซียมคาร์บอเนตหรือปูนตะกอนของแคลเซียมที่ละลายสะสมอยู่ใต้ผิวชั้นดินดำ (เป็นเวลาล้านๆปีตามกายภาพของแหล่งกำเนิดแร่) ใน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี เมื่อขุดได้แล้วสภาพจะเป็นก้อนและชื้น ต้องนำแร่นี้มาพักไว้ระยะหนี่งเพื่อลดความชื้นแล้วจึงนำเข้าไปโม่ให้ละเอียดด้วยเครื่องโม่แร่ระบบ hammer mill เอาไปบดไม่ได้เพราะมันชื้นโดยกายภาพ จึงได้ค่าความละเอียดโดยประมาณเพียง 80-100เมซ ซึ่งยังคงมีกรวดทรายหลงเหลืออยู่บ้างเมื่อละลายน้ำซึ่งก็เป็นลักษณะปกติของปูนมาร์ลนี้อยู่แล้ว เพราะความละเอียดไม่เหมือนแร่ตัวอื่นๆ เช่น แคลเซียม โดโลไมท์ ฟอสเฟต เพอร์ไรท์ ยิปซั่ม และอื่นๆ เพราะพวกนั้นผลิตด้วยวิธี บดด้วยเครื่องที่มีลูกกลิ้งยักษ์อยู่ข้างใน 

บทความน่าสนใจ